Welcome to blogger of Warunya.

วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Record12 25 October 2016

เนื้อหาการเรียนการสอน (Knowledge)
          การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการนำเสนอ Mind map ที่ได้ทำขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ได้นำไปแก้ไขมาแล้วทีละกลุ่มและอาจารย์ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติม
 หน่วยต้นไม้

 หน่วยผลไม้

 หน่วยปลา

หน่วยยานพาหนะ

หน่วยไข่

หน่วยอากาศรอบตัวฉัน

หน่วยดอกไม้

           อาจารย์ได้แนะนำแผนผังความคิดของแต่ละกลุ่ม และพูดรวมๆว่าการทำ Mind map ที่ถูกต้องและทำให้เราจำได้ง่ายขึ้นนั้นต้องทำเป็นคล้ายๆ เส้นสมองที่แตกขยายออกไปเช่นเดียวกับการแยกหัวข้อในการทำ Mind map อาจารย์แนะนำไว้ใช้เป็นแนวทางในการทำครั้งต่อไป
           จากนั้นอาจารย์ก็ได้อธิบายว่าหน่วยต่างๆ ที่แต่ละกลุ่มคิดมานั้นสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแผนการสอนต่อไป เมื่อเข้าใจกันทุกกลุ่มแล้วอาจารย์ก็ได้ให้แต่งละกลุ่มแบ่งงานกันให้คิดแผนการจัดประสบการณ์ให้เด็กคนละ 1 หัวข้อ
มาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สาระที่ 1 : สิ่งมิชีวีตกับกระบวนการดำรงชีวีต
       มาตรฐาน ว 1.1 : เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวีตความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหนาที่ของระบบตต่างๆ ของสิ่งมีชีวีตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเอง และดูแลสิ่งมีชีวีต
       มาตรฐาน ว 1.2 : เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวิฒนาการของสิ่งมีชีวีติ ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 2 : ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
       มาตรฐาน ว 2.1 : เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวีตต่างๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
       มาตรฐาน ว 2.2 : เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
สาระที่ 3 : สารและสมบัติของสาร
       มาตรฐาน ว 3.1 : เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้าง และแรงยึดเหนึยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
       มาตรฐาน ว 3.2 : เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยาเคมี มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 4 : แรงและการเคลื่อนที่
       มาตรฐาน ว 4.1 : เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วงและแรงนวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม
        มาตรฐาน ว 4.2 : เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 5 : พลังงาน
       มาตรฐาน ว 5.1 : เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 6 : กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
      มาตรฐาน ว 6.1 : เข้าใจกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่างๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 7 : ดาราศาสตร์และอวกาศ
        มาตรฐาน ว 7.1 : เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะและกาแลกซี่ ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
       มาตรฐาน ว 7.2 : เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยี อวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศ และทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีศีลธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 8 : ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
       มาตรฐาน ว 8.1 : ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยาศาสตร์ ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ มีรูปแบบทที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ทักษะที่ใช้ในการเรียนรู้ (Skill)
           - ทักษะการฟัง
           - ทักษะการคิดอย่างเป็นกระบวนการ
           - ทักษะการสรุปข้อมูล
           - ทักษะการเขียน
           - ทักษะการเชื่อมโยงข้อมูล
เทคนิคการสอนของอาจารย์ (Technique teaching)
          อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาจำได้ดีผ่านการทำผังความคิด และมีการสอดแทรกคุณธรรมให้นักศึกษาครูอยู่ตลอด
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
          ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเขียนแผนผังความคิดและทบทวนมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อนำไปใช้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ รวมถึงการบูรณาการกับวิชาอื่นๆด้วย เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมให้เด็กต่อไป
การประเมิน
ประเมินตนเอง - ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา และแต่งกายเรียบร้อย
ประเมินเพื่อนร่วมชั้น - เพื่อนๆตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงานไม่รบกวนเพื่อน
ประเมินอาจารย์ผู้สอน - อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และมีกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ทำ
คำศัพท์
1. Chart ideas = ผังความคิด
2. Accord = สอดคล้อง
3. Resource = ทรัพยากร
4. Nature = ธรรมชาติ
5. Moral = คุณธรรม
ไฟฉายแสนสนุก

วัสดุอุปกรณ์
      1. ไฟฉาย
      2. กระดาษแก้ว 3 สี (สีแดง สีน้ำเงิน สีเหลือง)
      3. หนังยาง
      4. กระดาษเทาขาว
      5. เทปกาว
      6. กระดาษสี
ขั้นตอนการทำ
     1. ตัดกระดาษเทาขาวล้อมรอบหัวไฟฉายให้มีขนาดใหญ่กว่าหัวไฟฉายเล็กน้อยและติดด้วยเทปกาว ทำทั้งหมด 3 อัน

     2. ตัดกระดาษแก้วทั้ง 3 สีให้เป็นสีเหลี่ยม

     3. นำกระดาษแก้วที่ตัดไว้ไปครอบกระดาษเทาขาวแล้วใช้หนังยางรัดให้เแน่น และใช้กระดาษสีห่อหุ้มด้านนอกไว้ให้เรียบร้อยทำจนครบทุกสี

วิธีการเล่น
     1. นำกระดาษแก้วที่เป็นสีเหลืองมาครอบไฟฉาย เปิดไฟฉาย จะเกิดสีอะไร
     2. นำกระดาษแก้วที่เป็นสีแดงมาคลอบไฟฉาย เปิดไฟฉาย จะเกิดสีอะไร
     3. นำกระดาษแก้วที่เป็นสีน้ำเงินมาคลอบไฟฉาย เปิดไฟฉาย จะเกิดสีอะไร

ความรู้เกี่ยวกับสีของแสง

     การมองเห็นสีต่างๆ บนวัตถุเกิดจากการผสมของแสงสี เช่น แสงขาวอาจเกิดจากแสงเพียง สีรวมกัน แสงทั้ง สี ได้แก่ แสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีน้ำเงิน หรือเรียกว่าสีปฐมภูมิ และถ้านำแสงที่เกิดจากการผสมกันของสีปฐมภูมิ สีมารวมกันจะเกิดเป็น สีทุติยภูมิ ซึ่งสีทุตยภูมิแต่ละสีจะมีความแตกต่างกันในระดับความเข้มสีและความสว่างของแสง 
     เรามองเห็นวัตถุที่เปล่งแสงด้วยตัวเองไม่ได้ก็เพราะมีแสงสะท้อนจากวัตถุนั้นเข้าสู่นัยย์ตาของเรา และสีของวัตถุก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของแสงที่สะท้อนนั้นด้วย โดยวัตถุสีน้ำเงินจะสะท้อนแสงสีน้ำเงินออกไปมากที่สุด สะท้อนแสงสีข้างเคียงออกไปบ้างเล็กน้อย และดูดกลืนแสงสีอื่น ๆ ไว้หมด ส่วนวัตถุสีแดงจะสะท้อนแสงสีอดงออกไปมากที่สุด มีแสงข้าวเคียงสะท้อนออกไปเล็กน้อย และดุดกลืนแสงสีอื่น ๆ ไว้หมด สำหรับวัตถุสีดำจะดูดกลืนทุกแสงสีและสะท้อนกลับได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Record11 18 October 2016

เนื้อหาการเรียนการสอน (Knowledge)
การเรียนการสอนในนี้เริ่มต้นด้วยการทบทวนเนื้อหาบทเรียนในสัปดาห์ที่ผ่านมา 
           - การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการลงมือกระทำและการมีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติ
          จากนั้นอาจารย์ได้ตรวจของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่เหลือ และให้คำแนะนำ อธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ 
 รางลาดเอียง เป็นการไหลลงตามแรงโน้มถ่วงของโลก หากลาดเอียงมากลูกแก้วก็จะไหลลงเร็ว โดยอาจารย์ได้แนะนำว่าถ้าหากเด็กได้มีส่วนร่วมในการเลือกความลาดเอียงจะน่าสนใจกว่านี้
เป่าลมแล้วเป็นรูปต่างๆ และเมื่อดูดลมออกถุงกระดาษก็จะยุบลงที่เดิม
ลูกแก้วลาดเอียง ชิ้นนี้คล้ายกันกับชิ้นแรก แต่ชิ้นนี้เด็กจะสามารถการเอียงได้ด้วยตนเอง
           จากนั้นอาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่ครูควรจะทำ เช่น การสอนแบบบูรณาการ คือ การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหลายๆวิชาผ่านหน่วยที่เราเลือกจัดกิจกรรม โดยครูนั้นควรจัดกิจกรรมที่เสริมประสบการณ์เด็กแบบบูรณาการให้เด็กได้รับประสบการณ์หลากหลาย โดยยืดหลักเรื่องที่เด็กได้ทำอย่างอิสระ เด็กสนใจ และสิ่งที่มีผลกระทบกับเด็ก โดยการเรียนรู้ของเด็กนั้นจะเรียนรู้จากการฟัง พูด อ่าน เขียน โดยมีครูเป็นคนอำนวยความสะดวก
           และกิจกรรมสุดท้ายเป็นกิจกรรมกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เพื่อคิดหน่วยการสอนที่สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยเพื่อทำ Mind map ขยายเรื่องที่เกี่ยวกับหน่วยนั้นๆ
หน่วยผลไม้

หน่วยดอกไม้

หน่วยต้นไม้

หน่วยปลา

หน่วยยานพาหนะ

หน่วยอากาศรอบตัวฉัน

หน่วยไข่
และอาจารย์ได้ตรวจสอบและให้คำแนะนำเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องของแต่ละหน่วยเพื่อให้เกิดความมบูรณ์ที่สุด และให้แก้ไขนำมาส่งสัปดาห์ถัดไป
ทักษะที่ใช้ในการเรียนรู้ (Skill)
           - ทักษะการฟัง
           - ทักษะการคิดอย่างเป็นกระบวนการ
           - ทักษะการสรุปข้อมูล
           - ทักษะการเขียน

เทคนิคการสอนของอาจารย์ (Technique teaching)
          อาจารย์สอนแบบบรรยายโดยใช้คำถามให้นักศึกษาได้ตอบและคิดตามและตอบคำถาม และมีกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ทำเพื่อเป็นการฝึกทักษะต่างๆ รวมไปถึงการสอนความเป็นครูเพื่อปลูกฝังความดีงามให้กับนักศึกษาอีกด้วย

การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
           ได้รับการทบทวนเรื่องสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยทำให้เราสามารถนำไปประยุกต์จัดกิจกรรมที่เหมาะสมและตรงกับวิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้อง รวมไปถึงได้คิดออกแบบหน่วยการสอนที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทำให้เราได้เห็นการจัดกิจกรรมแต่ละหน่วยของเพื่อนๆด้วย เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมในอนาคตต่อไป

การประเมิน (Assessment)
  ประเมินตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน และช่วยเพื่อนทำงาน
  ประเมินเพื่อนร่วมชั้น - เพื่อนๆตั้งใจเรียนและช่วยเพื่อนทำงานกลุ่ม
  ประเมินอาจารย์ผู้สอน - อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และมีการจัดการสอนได้ดีมาก
คำศัพท์
1. Integration = บูรณาการ
2. Vehicle = ยานพาหนะ
3. Slope = ลาดเอียง
4. Describe = ขยายความ
5. Modify = แก้ไข