Welcome to blogger of Warunya.

วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559

สรุปบทความวิทยาศาสตร์
เรื่อง สอนลูกเรื่องเชื้อเพลิง (Teaching Children about Fuel)
ผู้เขียน : ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุบผา เรืองรอง 
อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
          การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุที่นำไปเผาไหม้หรือแปรเปลี่ยนเพื่อนำมาซึ่งพลังงาน เช่น น้ำมัน แก๊ส แก๊สหุงต้ม ซึ่งคนเราค้นพบการใช้เชื้อเพลิงมานานมากแล้ว เชื้อเพลิงเป็นประโยชน์ที่ช่วยทำให้อาหารสุก นำมาใช้เพื่อพิงไฟให้ตนเองและสัตว์เลี้ยง การค้นพบเชื้อเพลิงทำให้คน เรามีความสุขสบายมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเชื้อเพลิงก็ได้พัฒนามาตลอดเพราะเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้คู่กับเครื่องใช้ที่อำนวยความสะดวกของคนเรา ได้แก่ เครื่องหุงต้ม เครื่องใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และยานพาหนะเพื่อการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น เชื้อเพลิงจึงเป็นสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก มีให้เห็นทั้งในบ้านและในชุมชน แต่เนื่องจากเชื้อเพลิงเป็นวัสดุใดๆที่นำ ไปเผาไหม้หรือแปรเปลี่ยนเพื่อนำมาซึ่งพลังงาน เชื้อเพลิงจึงมีทั้งคุณและโทษที่เราต้องเรียนรู้เพื่อใช้ให้ถูกวิธีและระมัดระวังการเผาไหม้ไม่ให้เกิดอันตราย การจัดบทเรียนให้แก่เด็กจึงต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ของเนื้อเรื่องของเชื้อเพลิงกับเรื่องอุบัติเหตุที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงและการใช้เชื้อเพลิงที่เหมาะสมเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก
          การจัดกิจกรรมเรื่องเชื้อเพลิง จะเป็นการส่งเสริมให้เด็กได้รู้เห็น สัมผัสจับต้องสิ่งที่เป็นรูปธรรมจึงสามารถส่งเสริมประสบ การณ์สำคัญด้านต่างๆให้แก่เด็ก ได้แก่
          - ด้านร่างกาย เด็กได้รู้จักรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นที่เกิดจากการใช้เชื้อเพลิง แม้ในขณะที่เด็กได้กระทำกิจกรรม เด็กได้พัฒนาการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
          - ด้านสังคม เด็กได้ทำกิจกรรมกับผู้อื่น ได้ช่วยกันวางแผนทำงาน ตัดสินใจเลือก ได้คิดแก้ปัญหา และลงมือปฏิบัติกิจกรรม
          - ด้านสติปัญญา เด็กได้รับรู้สิ่งที่เป็นเชื้อเพลิงด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ให้เด็กได้สังเกต จำแนก เปรียบเทียบ จากการสำรวจ เชื้อเพลิงที่เป็นวัตถุหรือรูปธรรม เช่น ถ่าน เศษไม้ ขยะ น้ำมัน แก๊ส ที่สามารถจุดไฟเกิดเผาไหม้ได้ เป็นต้น เด็กได้ใช้ภาษา แสดงความรู้สึกด้วยการพูดเล่าเรื่อง เล่าประสบการณ์ของตนเองเช่น ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงใส่ยานพาหนะเมื่อเดินทางโดยสารรถยนต์ต่างๆ เช่น รถยนต์ของครอบครัว รถโดยสารประจำทางหรือ รถรับส่งนักเรียนของโรงเรียน เป็นต้น
          - ด้านอารมณ์ เด็กจะมีความสุขที่ได้รับการตอบสนองความอยากรู้อยากเห็น เมื่อครูจัดกิจกรรมดนตรี สร้างสรรค์ เล่น หรือแสดงความชื่นชมสิ่งสวยงาม เช่น วาดภาพเทียน ส่องประกายไฟ เมื่อฟังนิทานสำหรับเด็กที่มีเรื่องของเชื้อเพลิง เช่น เรื่อง สโนไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด ตอน สโนไวท์จุดไฟ ใช้ต้มซุปเป็นอาหารให้คนแคระกิน เป็นต้น กิจกรรมดังกล่าวจะทำให้เด็กมีอารมณ์และจิตใจร่าเริงเบิกบานมีความสุข ตลอดจนเป็นการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเด็กผ่านจากเรื่องเชื้อเพลิงได้เช่นกัน เช่น การใช้เชื้อเพลิงอย่างประหยัดและถูกต้อง ตลอดจนระวังการเผาไหม้ที่มาเชื้อเพลิงนี้ เพื่อไม่ให้เกิดภัยอันตราย
ครูสอนเรื่องเชื้อเพลิงให้ลูกที่โรงเรียนได้ดังนี้
          - กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เด็กๆ ควรได้คิดและปฏิบัติการค้นหาคำตอบเรื่องเชื้อเพลิงด้วยตนเอง คำถามที่น่าสน ใจ คือ เชื้อเพลิงคืออะไร อะไรบ้างที่เป็นเชื้อเพลิง เราใช้เชื้อเพลิงทำประโยชน์อย่างไร เชื้อเพลิงมีโทษอย่างไร การให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสเพื่อการเรียนรู้ที่ดี เป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น เด็กจึงควรได้เห็นเชื้อเพลิงของจริง ทั้ง เชื้อ เพลิงแข็ง เชื้อเพลิงเหลว และ เชื้อเพลิงแก๊ส ที่ได้นำมาใช้ในชีวิตของเรา
  • เชื้อเพลิงแข็งได้แก่ ไม้ ถ่าน เทียน ขยะต่างๆ
  • เชื้อเพลิงเหลว ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในการคมนาคม
  • และเชื้อเพลิงแก๊ส ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติอัด


          - กิจกรรมการเคลื่อนไหวจังหวะ เด็กเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย คำคล้องจอง และแสดงท่าทางตามจินตนาการ เช่น บทคำคล้องจอง เชื้อเพลิงน้ำมัน เช่น สมมติเด็กเป็นรถยนต์ เติมน้ำมันขับรถไป เป็นต้น
          - กิจกรรมสร้างสรรค์ สร้างภาพจากหยดเทียนสี วาดภาพระบายสี เตาหุงต้มประเภทต่างๆ จะต้องใช้เศษไม้หรือถ่านเป็นเชื้อเพลิง เตาหุงต้มด้วยแก๊สอัด หล่อเทียนในแก้วใบเล็กๆ
          - กิจกรรมกลางแจ้ง การเล่นสนุกและออกกำลังกายเป็นสิ่งที่เด็กชอบ แต่การสร้างประสบการณ์เรื่องเชื้อเพลิงไปด้วย ครูอาจจัดกิจกรรมได้หลายอย่างด้วยจุดประสงค์ให้เด็กได้ออกกำลังกายเป็นหลัก เช่น วิ่งถือถ่านไปเติมใส่เตาไฟ เล่นสมมติว่าเป็นรถยนต์แล่นไปมาแล้วแวะเติมน้ำมันที่สถานีบริการน้ำมัน เล่นแข่งขันทอยลูกบอลไปที่ถังน้ำมัน กลุ่มใดทอยได้จำนวนมากกว่าเป็นผู้ชนะ ฝึกการยอม รับกติกาการเล่นให้แก่เด็ก
          - เกมการศึกษา เล่นเกมต่างๆ ได้แก่ เกมภาพตัดต่อ ภาพเทียน ไม้ หรือ ภาพสถานีเติมน้ำมัน เกมจับคู่ เช่น จับคู่ท่อนไม้ที่มีรูปร่างเหมือนกัน จับคู่ภาพกับเงาของสถานีเติมน้ำมัน จับคู่ภาพที่ช่อนอยู่ในภาพหลัก จับคู่สิ่งที่มีความสัม พันธ์กัน สิ่งที่ใช้คู่กัน รถยนต์คู่กับถังน้ำมันเชื้อเพลิง เตาหุงต้มคู่กับถังแก๊ส หรือเตาประเภทใช้ถ่านคู่กับถ่าน เป็นต้น เรียงลำดับขนาด ของเศษไม้ เทียน สถานีเติมน้ำมันเชื้อเพลิง ถังแก๊ส เป็นต้น
          - กิจกรรมเสรี จัดมุมเล่นบทบาทสมมติให้เด็ก เขาอาจจะเล่นเป็นผู้จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง คนขับรถโดยสารบริการผู้คน จัดหนังสือเรื่องเชื้อเพลิงไว้ที่มุมหนังสือให้เด็กได้อ่านค้นคว้า มุมไม้บล็อกให้เด็กได้เล่นต่อไม้อย่างอิสระ เด็กอาจจะต่อเป็นถนนสายยาวให้รถแล่นไปมาและแวะเติมน้ำมันที่สถานีบริการที่เขาต่อจากไม้บล็อกขึ้นมา บางทีเด็กอาจจะต่อไม้เป็นบ่อน้ำมันที่เจ้าหน้าที่กำลังเจาะขุดน้ำมันธรรมชาติมาใช้ก็ได้ หลังจากเด็กๆ ได้ดูหรืออ่านสารคดีเกี่ยวกับน้ำมันในโลกนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น