สรุปงานวิจัยวิทยาศาสตร์
การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
( PRESCHOOL CHILDREN’S CRITICAL THINKING THOUGH SCIENCE
ACTIVITIES )
ปริญญานิพนธ์ของ เสกสรร มาตวังแสง
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ตุลาคม 2552
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด กิจกรรมวิทยาศาสตร์ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ในภาพรวม และจําแนกรายด้าน คือ การวิเคราะห์
การใช้เหตุผล การสังเคราะห์ การประเมินค่า และเพื่อเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและ หลังได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยสนใจศึกษาว่าการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เด็ก ปฐมวัยจะส่งผลต่อการคิดวิจารณญาณเพิ่มขึ้นหรือไม่ ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทาง แก่ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยได้ใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย หรือประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาด้านอื่นๆ ของเด็กต่อไป
ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม วิทยาศาสตร์โดยจําแนกรายด้าน
ดังนี้ การวิเคราะห์ การใช้เหตุผล การสังเคราะห์ การประเมินค่า
2. เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัด กิจกรรมวิทยาศาสตร์
ความสําคัญของการวิจัย
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้จะเป็นแนวทางสําหรับครูในการนํากิจกรรมวิทยาศาสตร์มาใช้สําหรับเด็กปฐมวัยเพื่อพัฒนาการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางในการ พัฒนาปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรม
เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยเกิดการคิดได้เต็มตามศักยภาพ ตามจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย
ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัย ชาย – หญิง
อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่งกําลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนเทศบาลวัดเนิน สุทธาวาส
(สุทธิพงษ์ประชานุกูล) อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี
สังกัดสํานักการศึกษาเทศบาลเมืองชลบุรี จํานวน 50 คน
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชาย – หญิง
อายุระหว่าง 5 – 6 ป กําลังศึกษาอยู่ในระดับอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนเทศบาลวัดเนิน สุทธาวาส
(สุทธิพงษ์ประชานุกูล) อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี
สังกัดสํานักการศึกษาเทศบาลเมืองชลบุรี โดยมีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างดังนี้
1. เลือกนักเรียนมา 1 ห้องเรียนจากทั้งหมด 2 หhองเรียนด้วยการจับสลาก
2. จับสลากนักเรียนจํานวน 15 คน
ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรจัดกระทํา ได้แก่ การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ การคิดวิจารณญาณ
สมมติฐานการวิจัย
การคิดวิจารญาณของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อนได้รับ การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
- การวิเคราะห์ จํานวน 15 ข้อ
ดังตัวอย่าง จงกากบาท (X) ทับภาพที่อยู่กลุ่มเดียวกับภาพแรก
- การใช้เหตุผล จํานวน 15 ข้อ
ดังตัวอย่าง จงกากบาท (X) ทับภาพที่มีความสัมพันธ์เหมือนกับคู่แรก
- การสังเคราะห์ จํานวน 15 ข้อ
ดังตัวอย่าง ถ้าเด็กๆ อยากรับประทานก๋วยเตี๋ยวน้ำควรเตรียมมาชนะใด
- การประเมินค่า จํานวน 15 ข้อ
ดังตัวอย่าง ถ้าเด็กๆ หิวน้ำแต่ไม่มีแก้วเด็กๆ จะทําอย่างไร
1. แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
- การวิเคราะห์ จํานวน 15 ข้อ
ดังตัวอย่าง จงกากบาท (X) ทับภาพที่อยู่กลุ่มเดียวกับภาพแรก
- การใช้เหตุผล จํานวน 15 ข้อ
ดังตัวอย่าง จงกากบาท (X) ทับภาพที่มีความสัมพันธ์เหมือนกับคู่แรก
- การสังเคราะห์ จํานวน 15 ข้อ
ดังตัวอย่าง ถ้าเด็กๆ อยากรับประทานก๋วยเตี๋ยวน้ำควรเตรียมมาชนะใด
- การประเมินค่า จํานวน 15 ข้อ
ดังตัวอย่าง ถ้าเด็กๆ หิวน้ำแต่ไม่มีแก้วเด็กๆ จะทําอย่างไร
2. แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
กําหนดเนื้อหาในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ จํานวน 8 หน่วย ดังนี้ หน่วย น้ําใสไหลเย็น หน่วยลมฟ้าอากาศ หน่วยดินหินทราย หน่วยดวงอาทิตย์ หน่วยหาดสวยทะเลใส หน่วยพลังงาน หน่วยเสียง หน่วยพืช โดยสร้างแผนการจัดกิจกรรมทั้งหมด 24 แผน
กําหนดเนื้อหาในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ จํานวน 8 หน่วย ดังนี้ หน่วย น้ําใสไหลเย็น หน่วยลมฟ้าอากาศ หน่วยดินหินทราย หน่วยดวงอาทิตย์ หน่วยหาดสวยทะเลใส หน่วยพลังงาน หน่วยเสียง หน่วยพืช โดยสร้างแผนการจัดกิจกรรมทั้งหมด 24 แผน
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
ขั้นนํา เป็นการนําเข้าสู่กิจกรรมโดยเด็กและครูสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมที่จะทํา การทดลองให้เด็กได้สํารวจวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง แล้วให้เด็กคาดคะเนผลการทดลอง ร่วมกัน
ขั้นนํา เป็นการนําเข้าสู่กิจกรรมโดยเด็กและครูสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมที่จะทํา การทดลองให้เด็กได้สํารวจวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง แล้วให้เด็กคาดคะเนผลการทดลอง ร่วมกัน
ขั้นดําเนินกิจกรรม เป็นขั้นตอนที่เด็กร่วมกันวางแผนการทดลอง แล้วลงมือ ปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง โดยเด็กหยิบ จับ สัมผัส
เห็นการเปลี่ยนแปลงระหว่างทําการทดลอง เห็นกระบวนการในการทดลอง
และเห็นผลการทดลองด้วยตนเอง โดยครูจะใช้คําถามในขณะที่ เด็ก ทดลอง เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดการวิเคราะห์การใช้เหตุผล การสังเคราะห์และการประเมินค่า
ขั้นสรุป เป็นขั้นที่เด็กและครูร่วมกันสรุปผลการทดลองว่าเป็นไปตามคาดคะเน ไว้หรือไม่ โดยให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นพร้อมอธิบายเหตุผลที่ได้จากผลการทดลอง
สรุปผลการวิจัย
เด็กปฐมวัยหลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์มีการคิดวิจารณญาณ ดังนี้
1. ระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยหลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรม วิทยาศาสตร์ในภาพรวมมีการคิดวิจารณญาณอยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 30.73 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการใช้เหตุผลอยู่ในระดับมากที่สุดมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.20 ส่วนด้านการวิเคราะห์มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.20 การสังเคราะห์มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.00 และการประเมินค่ามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.33 ซึ่งอยู่ในระดับมาก
เด็กปฐมวัยหลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์มีการคิดวิจารณญาณ ดังนี้
1. ระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยหลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรม วิทยาศาสตร์ในภาพรวมมีการคิดวิจารณญาณอยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 30.73 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการใช้เหตุผลอยู่ในระดับมากที่สุดมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.20 ส่วนด้านการวิเคราะห์มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.20 การสังเคราะห์มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.00 และการประเมินค่ามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.33 ซึ่งอยู่ในระดับมาก
2. การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยในภาพรวม หลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรม วิทยาศาสตร์ พบว่าเด็กปฐมวัยมีการคิดวิจารณญาณสูงขึ้น มีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ
8.93 คะแนน สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ
.01 และเมื่อ พิจารณาเป็นรายด้านพบว่า
หลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เด็กปฐมวัยมีการ วิเคราะห์สูงขึ้น
มีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.20 การใช้เหตุผลสูงขึ้นมีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 1.93 การสังเคราะห์สูงขึ้นมีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ
2.20 และการประเมินค่าสูงขึ้น มีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ
1.60 ทุกด้านสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์อย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ตัวอย่าง แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
ตัวอย่าง แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น