Welcome to blogger of Warunya.

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

Record7 20 September 2016

เนื้อหาการเรียนการสอน (Knowledge)
         วันนี้เริ่มต้นด้วยการคัดตัวพยัญชนะ ก-ฮ หัวกลมตัวเหลี่ยมครั้งที่3
          จากนั้นเป็นการทบทวนเรื่องอากาศ โดยอธิบายจากของเล่นที่เพื่อนทำมาและของใครเกี่ยวข้องกับเรื่องของอากาศ อาจารย์ก็ได้อธิบายเพิ่มเติมอย่างละเอียด เมื่อจบของเล่นที่เกี่ยวกับอากาศแล้ว อาจารย์ก็ได้ให้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์อย่างละเอียดอีกครั้ง




ว่าว - ที่ว่าวสามารถลอยอยู่ได้นั้นเป็นเพราะมีอากาศพยุงและมีลมจึงทำให้ว่าวลอยขึ้นได้
ตุ๊กตาล้มลุก - ที่ตุ๊กตาไม่ล้มนั้นเพราะน้ำหนักของตุ๊กตานั้นอยู่ที่ฐาน ทำให้จุดศูนย์ถ่วงอยู่คงที่ตุ๊กตาจึงไม่ล้มลง
ทะเลในขวด - ได้เรียนรู้เรื่องของมวล ความหนาแน่นของน้ำและน้ำมันที่ต่างกัน
รถลูกโป่ง - เคลื่อนที่ได้เพราะอากาศเข้าไปอยู่ในลูกโป่งเมื่อปล่อยให้ลมออก จะเกิดแรงดันรถจะสามารถเคลื่อนที่ได้
ปี่หลอด - การเคลื่อนที่ของเสียงผ่านตัวกลางและกระทบกันทำให้เกิดเสียง เสียงจะเปลี่ยนเมื่อใช้หลอดที่ต่างกัน
แว่นตา3มิติ - การมองเห็นภาพนูนขึ้นมา
ลูกข่าง - แกนกลางของการหมุนอยู่ที่จุดศูนย์กลาง ทำให้สามารถหมุนรอบตัวเองได้
           ต่อมาอาจารย์ได้นำของเล่นวิทยาศาสตร์ของพี่ๆมาให้พวกเราดู เป็นแนวทางในการสอนต่อไป ถ้าเราสอนหน่วยใดก็ออกแบบของเล่นในหน่วยนั้น


น้ำพุ : น้ำจะไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ เป็นหลักการสร้างน้ำพุ

ถ้าระดับของกรวยเท่ากันน้ำจะเท่ากัน


ขีดเส้นทำให้เกิดภาพนูนขึ้นมา


ดอกไม้บานจากการวางบนน้ำ เพราะน้ำจะค่อยๆแทรกกระดาษทำให้กระดาษเปียกและบานออก





          กิจกรรมสุดท้ายเป็นกิจกรรมนำเสนอของเล่นกลุ่ม ทีละกลุ่มอาจารย์ได้ให้คำแนะนำและนำไปปรับปรุงของเล่นกลุ่มตนเอง
 กล้องไฮโพสโครป : กระจกทำให้เกิดการสะท้อนและทำให้เห็นนภาพ

ลูกแก้วกลิ้งบนราง : ลูกแก้วจะกลิ้งจากที่สูงลงที่ต่ำ

กล้องสะท้อน : วัตถุโปร่งแสงทำให้เห็นภาพที่อยู่ด้านใน

เบล็ดตกปลา

บ้านผีสิง : แสงกระทบกับวัถุและดวงตาจึงมองเห็น
ทักษะที่ใช้ในการเรียนรู้ (Skill)
          - ทักษะการฟัง
          - ทักษะการเขียน,คัดลายมือ
          - ทักษะการสังเกต
          - ทักษะการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ
          - ทักษะการประดิษฐ์
เทคนิคการสอนของอาจารย์ (Technique teaching)
          - อาจารย์ถามคำถามเพื่อให้นักศึกษาได้คิดและทบทวนความรู้ และสอนให้นักศึกษาลงมือทำจริงเพื่อเกิดการเรียนรู้ รวมไปถึงการนำของจริงๆ มาให้ดูเพื่อให้นักศึกษาเห็นภาพ
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
          - สามารถนำความรู้ที่ได้นี้ไปใช้สอนเด็กให้เด็กได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเล่นที่เด็กได้เล่นจริง รวมไปถึงการประดิษฐ์สื่อการสอนต่างๆ เพื่อเป็นสื่อให้เด็กได้เรียนรู้อีกด้วย


การประเมิน (Assessment)

          - ประเมินตนเอง แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา และตั้งใจเรียน                                            ตั้งใจทำกิจกรรม

          - ประเมินเพื่อน เพื่อนๆตั้งใจเรียน และเข้าเรียนตรงเวลา
          - ประเมินอาจารย์ อาจารย์ตั้งใจสอน และเข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมมาให้ทำเยอะ
คำศัพท์
1. Fountain = น้ำพุ
2. Reflection = การสะท้อน
3. Embossed = ภาพนูน
4. Density = ความหนาแน่น
5. Impact = กระทบ

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2559

Record6 13 September 2016


เนื้อหาการเรียนการสอน (Knowledge)
          วันนี้เริ่มต้นการเรียนด้วยการคัดพยัญชนะ ก-ฮ ครั้งที่ 2 เนื่องจากครั้งแรกเป็นการคัดโดยตนเองที่อาจารย์ยังไม่ได้สอน ส่วนครั้งที่ 2 นี้อาจารย์ได้ให้เทคนิควิธีการเขียนทำให้การเขียนครั้งที่ 2 ดีขึ้น
           จากนั้นก็เป็นการสรุปของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยอาจารย์ได้นำของเล่นวิทยาศาสตร์ที่รุ่นพี่ปีที่แล้วได้ทำไว้ มาเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาดูและสังเกตสิ่งที่เป็นหลักการทางวิทยาศาสตร์แล้วนำไปปรับเปลี่ยนของเล่นของตนเองให้ดีขึ้น โดยของเล่นของเด็กปฐมวัยนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 
            1. ของเล่นเชิงทดลอง
           2. ของเล่นที่ให้เด็กได้ประดิษฐ์เอง
           3. ของเล่นเพื่อเสริมประสบการณ์ (จัดไว้ในมุมเสริมประสบการณ์)
          การทำของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นเมื่อคิดจะทำก็ต้องทำแล้วเกิดประโยชน์และใช้งานได้จริง เสริมประสบการณ์ให้เด็กได้จริง ต้องคิดอย่างสร้างสรรค์เพราะเด็กๆ จะได้เรียนรู้จากสิ่งที่เขาสนใจ ต้องทำให้น่าสนใจ ตรงกับพัฒนาการและเหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็ก องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ คือ
คิดริเริ่ม -> คิดคล่องแคล่ว -> คิดละเอียดละออ -> คิดวิเคราะห์

มาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สาระที่ 1 : สิ่งมิชีวีตกับกระบวนการดำรงชีวีต
       มาตรฐาน ว 1.1 : เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวีตความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหนาที่ของระบบตต่างๆ ของสิ่งมีชีวีตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเอง และดูแลสิ่งมีชีวีต
       มาตรฐาน ว 1.2 : เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวิฒนาการของสิ่งมีชีวีติ ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 2 : ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
       มาตรฐาน ว 2.1 : เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวีตต่างๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
       มาตรฐาน ว 2.2 : เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
สาระที่ 3 : สารและสมบัติของสาร
       มาตรฐาน ว 3.1 : เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้าง และแรงยึดเหนึยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
       มาตรฐาน ว 3.2 : เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยาเคมี มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 4 : แรงและการเคลื่อนที่
       มาตรฐาน ว 4.1 : เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วงและแรงนวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม
        มาตรฐาน ว 4.2 : เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 5 : พลังงาน
       มาตรฐาน ว 5.1 : เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 6 : กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
      มาตรฐาน ว 6.1 : เข้าใจกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่างๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 7 : ดาราศาสตร์และอวกาศ
        มาตรฐาน ว 7.1 : เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะและกาแลกซี่ ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
       มาตรฐาน ว 7.2 : เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยี อวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศ และทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีศีลธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 8 : ธรรมชาตของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
       มาตรฐาน ว 8.1 : ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยาศาสตร์ ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ มีรูปแบบทที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

กิจกรรมสุดท้ายเป็นกิจกรรมที่อาจารย์ได้นำของเล่นวิทยาศาสตร์มาให้นักศึกษาได้ดูและศึกษาเกี่ยวกับของเล่นชิ้นนั้นๆ

 การสะท้อนของกระจกทำให้เห็นดอกไม้เป็น 16 กลีบจากเดิมภาพจริงมีดอกไม้เพียง 3 กลีบเท่านั้น


การสะท้อนของกระจกทำให้เห็นตัวการ์ตูนมีจำนวนมากขึ้น 

ของเล่นชิ้นนี้เป็นการผสมสี เด็กจะได้เรียนรู้ในเรื่องการผสมสี และรูปเวขาคณิต

การผสมสี



 หมุนภาพไวๆ แล้วจะเห็นเป็นภาพซ้อนกัน




เปิดภาพแล้วจะเห็นภาพขยับ

ทักษะที่ใช้ในการเรียนรู้ (Skill)
          - ทักษะการสรุปข้อมูล
          - ทักษะการเขียน,คัดลายมือ
          - ทักษะการสังเกต
          - ทักษะการฟัง

เทคนิคการสอนของอาจารย์ (Technique teaching)
          - อาจารย์ให้นักศึกษาตอบคำถามจากอาจารย์อยู่ตลอดเวลาเพื่อสอบถามความเข้าใจ และอาจารย์ได้ยกตัวอย่างอย่างเห็นภาพได้ชัดเจน
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
          - ได้รับความรู้เรื่องแสง และได้ความรู้เรื่องสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทำให้สามารถนำไปจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้ และเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้อง รวมไปถึงการได้เห็นของเล่นวิทยาศาสตรืในแบบต่างๆ ทำให้เราสามารถนำไปต่อยอดความคิดเพื่อพัฒนาของตนเอง และเพื่อนำไปใช้จัดการเรียนรู้ให้เด็กได้อีกด้วย

การประเมิน (Assessment)
          - ประเมินตนเอง แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา และตั้งใจเรียน
          - ประเมินเพื่อน เพื่อนๆตั้งใจเรียน และเข้าเรียนตรงเวลา
          - ประเมินอาจารย์ อาจารย์ตั้งใจสอน และเข้าสอนตรงเวลา มีการถามคำถามเพื่อให้                                       นักศึกษาคิดอยู่ตลอดการเรียนการสอน

คำศัพท์
1. Initiative = คิดริเริ่ม
2. Standard = มาตรฐาน
3. Organism = สิ่งมีชีวิต
4. Space = อวกาศ
5. Phenomenon = ปรากฎการณ์

Homework