อุปกรณ์
- ฝาขวดน้ำ
- กาว
- ยาง
- ลูกบอลเล็กๆ
- ลูกบอลเล็กๆ
วิธีการทำ
- นำไม้ไอติม 2 อัน รัดติดกันด้วยยางยืด หัว-ท้าย ของไม้ไอติม
- ทำเสร็จ นำไม้ไอติมอัก 2 อัน รัดด้วยยางรัดด้านใดด้านหนึ่ง
- นำไม้ไอติมจากข้อ 2 คีบ ไม้ไอติมจากข้อ 1
- รัดติดกัน ด้วยยางรัด ตรงกลางไม้ไอติม ให้ติดกัน ตรงปลายไม้ไอติมที่คีบ ติดฝาขวดด้วยกาว
วิธีการเล่น
- นำที่ยิงบอลไว้กับพื้น วางบอลไว้ในฝาขวดน้ำ จากนั้นกดไม้ไอติมฝั่งที่วางบอลแล้วปล่อย ลูกบอลจะลอยขึ้นไปตามแรงที่เรากดไม้ไอติมลง
หลักการทางวิทยาศาสตร์
โดยจากของเล่นวิทยาศาสตร์ชิ้นนี้เด็กจะได้เรียนรู้เรื่องของ แรงกิริยา โดยแรงกิริยาเป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุตามแรงที่กระทำ เช่น การขว้างก้อนหินออกไป แรงเท่าไหร่ก้อนหินก็จะไปไกลเท่านั้น เช่นเดียวกับของเล่นชิ้นนี้ที่จะเคลื่อนที่ตามแรงในการดีดของไม้ไอติม นอกจากนั้นเด็กยังจะได้เรียนรู้ในเรื่องของโน้มถ่วงที่ลูกบอลโดนยิงขึ้นไปแล้วตกลงมาสู่พื้น นั่นคือแรงโน้มถ่วงที่สนามโน้มถ่วงกระทำต่อวัตถุให้วัตถุตกลงพื้นโลกนั่นเอง
การบูรณาการ STEM , STEAM
วิทยาศาสตร์ (S) - การเรียนรู้เรื่องของแรงในการยิงลูกบอล และเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งเด็กจะได้เรียนรู้จากการทำด้วยตนเอง และมีครูเป็นผู้เสริมประสบการณ์ให้
เทคโนโลยี (T) - เด็กๆ จะได้ลงมือทำที่ยิงบอลด้วยตนเองเป็นขั้นตอน ซึ่งเป็นการประดิษฐ์จากของเหลือใช้
วิศวกรรม (E) - เด็กๆจะได้เรียนรู้วิธีการทำ และออกแบบที่ยิงของตนเอง
คณิตศาสตร์ (M) - เช่น เรื่องระยะทางที่ลูกบอลถูกยิงไปตกนั้นวัดได้เท่าไหร่อาจจะให้เด็กๆเป็นคนวัดเองโดยการใช้ฝามือวางสลับกันไปเรื่อยๆ หรือจะเป็นการทำป้ายคะแนนระยะทางว่าผู้ใดสามารถยิงได้ไกลที่สุดก็ได้ นอกจากนั้นเด็กยังจะได้เรียนรู้ในเรื่องของจำนวนของไม้ไอติมที่เรานำมาใช้ทำเป็นที่ยิง เป็นต้น
ศิลปะ (A) - การเรียนรู้เรื่องสี หรือให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการตกแต่งป้ายคะแนนก็ได้ รวมไปถึงการตกแต่งที่ยิงบอลตาจินตนาการของเด็กๆด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น