Welcome to blogger of Warunya.

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การศึกษานอกห้องเรียน
(มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2559)

โดยงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 - 28 สิงหาคม 2559 เปิดให้ชมงานในเวลา 09.00 - 19.00 น. โดยนิทรรศการประกอบด้วย
           
          1. พระอัจฉริยภาพ “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
           2. นิทรรศการกลาง
นำเสนอประเด็นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่กำลังอยู่ในความสนใจของประชาชน หรือมีความสำคัญ มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่และการพัฒนาประเทศในอนาคต ซึ่งควรสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนและเยาวชน โดยในปี 2559 มีนิทรรศการพิเศษ อาทิ
                    - นิทรรศการนวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
                    - นิทรรศการยานยนต์แห่งอนาคตและการขนส่ง
                    - นิทรรศการการแพทย์ในยุคดิจิทัล
                    - นิทรรศการอนาคตเทคโนโลยีชีวภาพโลก (World Biotech Tour)
                    - นิทรรศการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับความหลากหลายทางชีวภาพ
                    - นิทรรศการมหัศจรรย์แห่งวิทยาศาสตร์ เรื่องของ “ไข่”
                    - นิทรรศการในปีสากลของ UNESCO ถั่วพัลส์ ความหวังของประชากรโลก
           3. กิจกรรมวิทยาศาสตร์ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในแนวทางสะเต็มศึกษา
                    - กิจกรรมพื้นที่นักนวัตกรรม จากความคิดสร้างสรรค์ สู่ผลงานสิ่งประดิษฐ์ 
                    - กิจกรรมห้องทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับครอบครัวและเยาวชน
                    - กิจกรรมลานประกวดแข่งขัน เครื่องบินกระดาษพับ
                    - กิจกรรมลานปลูกฝังปัญญาเยาว์ สำหรับพัฒนาทักษะกระบวนการคิดของเด็กก่อนวัยเรียนในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย
                    - ห้องฉายภาพยนตร์วิทยาศาสตร์
                    - การแสดงทางวิทยาศาสตร์
                    - การประกวดแข่งขันตอบปัญหา มอบรางวัล
           4. นิทรรศการศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย
                    - แสดงผลงานความก้าวหน้าด้านการวิจัย การประดิษฐ์คิดค้น นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในกิจการด้านต่าง ๆ ของประเทศ จัดแสดงโดยหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ในประเทศไทย จากสถาบันวิจัย สมาคม สถาบันการศึกษา และกระทรวง ทบวง กรม
                    - ผลงานวิจัยของหน่วยงานวิจัยของกระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ กระทรวงกลาโหม ฯลฯ
                    - โครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน โดยคลินิกเทคโนโลยีของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และมหาวิทยาลัยเครือข่าย
                    - ผลงานชนะเลิศเครื่องจักร เครื่องยนต์ และนวัตกรรมจากการประกวดเทคโนโลยีของไทย
                    - ผลงานดีเด่นด้านวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน นักศึกษา นักวิจัย
                    - การเชิดชูเกียรติผู้บำเพ็ญประโยชน์ในสาขาวิทยาศาสตร์ ผู้ได้รับรางวัลพระราชทานประจำปี รวมทั้งผู้เป็นบุคคลตัวอย่างด้านวิทยาศาสตร์ เช่น นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น เป็นต้น
           5. การประชุม สัมมนา และการถ่ายทอดเทคโนโลยี
ประกอบด้วยการประชุมระดับชาติและระดับนานาชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์และนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ ของประเทศและภูมิภาค อาทิ
                    - การประชุมด้านนโยบายวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคอาเซียน ASEAN STI Forum
                    - การประชุมความร่วมมือเพื่อพัฒนาเยาวชนด้านวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคอาเชียน ASEAN +3 for Gifted in Science
                    - การบรรยายเกี่ยวกับพระอัจฉริยะภาพทางวิทยาศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
                    - การจัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อการประกอบอาชีพสำหรับชุมชน
**ขอขอบคุณข้อมูลจากองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ**


ส่วนที่ดิฉันชอบและสะดุดตาที่สุดคือ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ซึ่งเป็นโซนกิจกรรมสำหรับสำหรับเด็กปฐมวัยโดยเฉพาะซึ่งภายในลานจะประกอบได้ด้วยกิจกรรมต่างๆมากมายเช่น

          กิจกรรมบล็อคของเด็กเล็ก เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กๆ ได้ต่อตัวต่อใส่บล็อคที่มีให้ให้ถูกต้องซึ่งกิจกรรมนี้เด็กๆ จะได้เรียนรู้เรื่องของผิวสัมผัสความเรียบ หยาบ แข็ง และการเรียนรู้เรื่องรูปร่าง รูปทรง เรื่องของความสัมพันธ์ที่จะสามารถใส่ตัวต่อลงในบล็อคได้ 

           กิจกรรมตัวต่อสีฟ้ามหรรษจรรย์ เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กๆ ได้ศึกษาเรื่องของความสัมพันธ์ของตัวต่อว่าสามารถต่อเข้ากันได้หรือไม่ ซึ่งต่อตัวก็จะมีหลายรูปแบบหลายรูปทรง จะทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ในเรื่องของขนาด รูปร่าง รูปทรงต่างๆ

           กิจกรรมไขรหัสจากภาพ กิจกรรมนี้จะทำให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องของสัญลักษณ์ต่างๆในชีวิตประจำวัน โดยเรียนรู้ผ่านการระบายสีให้เกิดเป็นรูปร่าง ยังช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอีกด้วย

ส่วนต่อมาที่น่าจะสนใจคือ ลานกิจกรรมเรื่องไข่มหรรษจรรย์ โดยจะเป็นเรื่องราวของไข่ของสิ่งมีชีวิตต่างๆบนโลก เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีอีกแห่งหนึ่ง ในโซนนี้จะประกอบด้วย
ZONE 1: ไข่...จุดกำเนิดชีวิต จุดกำเนิดเราจะเป็นเรื่องราวของไข่ต่างๆ เป็นจุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิตต่างๆ
ZONE 2: มหัศจรรย์แห่งไข่ เป็นเรื่องราวของไข่รูปทรง ขนาด และสีสันต่างๆ แตกต่างกันออกไปได้ให้ผู้ชมให้เข้ามาศึกษา ไข่บางชนิดก็ยังไม่เคยเห็นเลย
ZONE 3: ไข่ไขไอเดีย เป็นการสร้างผลงานสถาปัตถ์ขึ้นมาจากรูปทรงไข่
ZONE 4: สาระไข่น่ารู้ เป็นการชี้ให้เห็นคุณค่าของไข่ที่มีประโยชน์มากมาย
ZONE 5: สนุกวิทย์ สนุก kid – “ไข่หรรษา” เป็นกิจกรรมที่มีความรู้คู่กับความสนุกที่จะให้เด็กๆได้ลงมือทำงานฝีมือ เช่น กิจกรรมไข่ทำมือลายพลาง เป็นต้น

ภาพกิจกรรมภายในงาน












 






  

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559


Record3 23 August 2016
เนื้อหาการเรียนการสอน (Knowledge)
          วันนี้อาจารย์ติดประชุม จึงให้นักศึกษาไปรับงานที่อาจารย์และนำมาสรุปเป็นความเข้าใจของตนเอง โดยมีหัวข้อเรื่องดังนี้
          - รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
          - คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี
          - ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
          - ทฤษฎีการเรียนรู้
          - หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
          - การเรียนรู้อย่างมีความสุข



พัฒนาการของเด็กอายุ 3 ขวบ

พัฒนาการด้านร่างกาย
     - กระโดดขึ้นลงอยู่กับที่ได้ 
     - รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว 
     - เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้ 
     - เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
     - ใช้กรรไกรมือเดียวได้

 พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
     - แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
     - ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม 
     - กลัวการพลัดพรากจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง

พัฒนาการด้านสังคม
     - รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง 
     - ชอบเล่นแบบคู่ขนาน (เล่นของเล่นชนิดเดียวกัน แต่ต่างคนต่างเล่น) 
     - เล่นสมมุติได้ 
     - รู้จักรอคอย

พัฒนาการด้านสติปัญญา
     - สำรวจสิ่งต่างๆ ที่เหมือนกันและต่างกันได้ 
     - บอกชื่อของตนเองได้ 
     - ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา 
     - สนทนาโต้ตอบ/เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้นๆ ได้ 
     - สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ 
     - ร้องเพลง ท่องกลอน คำคล้องจองง่ายๆ และแสดงท่าทางเลียนแบบได้ 
     - รู้จักใช้คำถาม “อะไร” 
     - สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่ายๆ 
     - อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว

พัฒนาการของเด็กอายุ 4 ขวบ
พัฒนาการด้านร่างกาย
     - กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
     - รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสอง 
     - เดินขึ้น ลงบันไดสลับเท้าได้
     - เขียนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้ 
     - ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้ 
     - กระฉับกระเฉงไม่ชอบอยู่เฉย

พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
     - แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์ 
     - เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถ ผลงานของตนเองและผู้อื่น 
     - ชอบท้าทายผู้ใหญ่ 
     - ต้องการให้มีคนฟัง คนสนใจ

พัฒนาการด้านสังคม
     - แต่งตัวได้ด้วยตนเอง ไปห้องส้วมได้เอง 
     - เล่นร่วมกับคนอื่นได้ 
     - รอคอยตามลำดับก่อน หลัง 
     - แบ่งของให้คนอื่น 
     - เก็บของเล่นเข้าที่ได้

พัฒนาการด้านสติปัญญา
     - จำแนกสิ่งต่างๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ได้ 
     - บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้ 
     - พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ 
     - สนทนาโต้ตอบ/เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง 
     - สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น 
     - รู้จักใช้คำถาม ทำไม

พัฒนาการของเด็กอายุ 5 ขวบ
พัฒนาการด้านร่างกาย
     - กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้ 
     - รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง 
     - เดินขึ้น ลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว 
     - เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้ 
     - ตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด 
     - ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่น ติดกระดุม ผูกเชือกรองเท้า ฯลฯ 
     - ยืดตัว คล่องแคล่ว

พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
     - แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม 
     - ชื่นชมความสามารถ ผลงานของตนเองและผู้อื่น 
     - ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง 
     - พัฒนาการด้านสังคม 
     - ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง 
     - เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้ 
     - พบผู้ใหญ่ รู้จักไหว้ ทำความเคารพ 
     - รู้จักขอบคุณ เมื่อรับของจากผู้ใหญ่ 
     - รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

พัฒนาการด้านสังคม
     - ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง 
     - เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้ 
     - พบผู้ใหญ่ รู้จักไหว้ ทำความเคารพ 
     - รู้จักขอบคุณ เมื่อรับของจากผู้ใหญ่ 
     - รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

พัฒนาการด้านสติปัญญา
     - บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่างจำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้ 
     - บอกชื่อ นามสกุล และอายุของตนเองได้ 
     - พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง 
     - สนทนาโต้ตอบ/เล่าเป็นเรื่องราวได้ 
     - สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่ 
     - รู้จักใช้คำถาม ทำไม” “อย่างไร” 
     - เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม 
     - นับปากเปล่าได้ถึง 20


การนำความรู้ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคไปใช้ในการเรียนการสอ
- ครูสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอน อันเป็นการวางเงื่อนไขที่ดี
     - สร้างความเป็นกันเองกับผู้เรียนและให้ความอบอุ่นกับผู้เรียน
     - ครูจัดสิ่งแวดล้อมในสถานการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนรักสถานศึกษา



ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์
     - ทฤษฎีลองผิดลองถูก
     - การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
     - การทดลองของธอร์นไดค์


การนำความรู้จากทฤษฎีการเรียนรู้แบบต่อเนื่องหรือเชื่อมโยงไปใช้ในการเรียนการสอน
     - ก่อนที่จะดำเนินการสอน ครูจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมและกระตุ้นผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนเสียก่อน
     - ควรมอบหมายงาน แบบฝึกหัด หรือการบ้านให้ผู้เรียนได้ฝึกหัดกระทำเพื่อให้บรรลุตามหลักสูตร
     - ใช้หลักการให้รางวัลและลงโทษ เพื่อให้ผู้เรียน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว


การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์
     - ความรู้ถูกสร้างหล่อหลอมโดยประสบการณ์
     - ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
     - ผู้เรียนอยู้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
     - ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกกรมเอง


การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์
     - ความต่อเนื่อง
     - การจัดช่วงลำดับ
     - บูรณาการ



หลักการแนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
กีเซล - พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน เด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ

ฟรอยด์ - ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพของคนเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่

อิริคสัน - ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เด็กพอใจ ประสบผลสำเร็จเด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมมั่นและไว้วางใจผู้อื่น

เพียเจต์ - พัฒนาการทางด้านเชาว์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบๆตัวเด็ก มีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ๆที่เกิดขึ้นตลอดเวลา

ดิวอี้ - เด็กเรียนรู้ด้วยการกระทำ 

สกินเนอร์ - ถ้าเด็กได้รับการชมเชยและประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรมเด็กสนใจที่จะทำต่อไป

เปสตาลอสซี่ - ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา

เฟรอเบล - ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการกรตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างเสรี 

เอลคายน์ - การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เล็กเป็นอันตรายต่อเด็ก

ทักษะที่ใช้ในการเรียนรู้ (Skill)
          - ทักษะการอ่าน
          - ทักษะการสรุปองค์ความรู้
          - ทักษะการวิเคราะห์

เทคนิคการสอนของอาจารย์ (Technique teaching)
          - อาจารย์ให้นักศึกษาสรุปความรู้จากการอ่าน
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
          - ได้รู้เกี่ยวกับพัฒนาการ และการจัดการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยทำให้เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้จัดการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างถูกต้อง 
การประเมิน (Assessment)
          - ประเมินตนเอง แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ และตั้งใจทำงาน
          - ประเมินเพื่อน เพื่อนๆตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายดี
          - ประเมินอาจารย์ อาจารย์ติดประชุม

คำศัพท์
1. Development = พัฒนาการ
2. Attribute = คุณลักษณะ
3. Body = ร่างกาย
4. Intelligence = สติปัญญา
5. Daily routine = กิจวัตรประจำวัน
Record2 16 August 2016 (Make-up class)

เนื้อหาการเรียนการสอน (Knowledge)
          การเรียนในวันนี้เริ่มต้นด้วยการเขียน Mind mapping ในหัวข้อ การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยแยกออกเป็น การจัดประสบการณ์,วิทยาศาสตร์,เด็กปฐมวัย จากนั้นก็นำหัวข้อแต่ละหัวข้อมาแลกเปลี่ยนกัน โดยเน้นที่คำว่าวิทยาศาสตร์ โดยความหมายของวิทยาศาสตร์ คือ การศึกษา สืบค้นและค้นหาความจริงของสิ่งต่างๆรอบตัว โดยใช้ทักษะกระบวนการที่ต้องสังเกต ทดลอง ในการหาคำตอบเพื่อแสวงหาความจริงทางวิทยาศาสตร์

แนวคิดพิ้นฐานทางวิทยาศาสตร์
            1. การเปลี่ยนแปลง ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น เด็กจึงแลเห็นและเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น เวลา น้ำหนักของเด็ก และสิ่งอื่นๆที่อยู่รอบตัว
          2. ความแตกต่าง ให้เด็กสังเกตสิ่งต่างๆรอบๆตัว
          3. การปรับตัว ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึงให้เด็กสังเกตถึงธรรมชาติที่อยู่รอบๆตัว เช่นจิ้งจกจะเปลี่ยนสีที่เกาะตามผนัง
          4. การพึ่งพาอาศัยกัน ทุกสิ่งทุกอย่างต้องพึ่งพาอาศัยกัน เช่น คนกับเงิน นกเอี้ยงกับควาย
ครูจึงควรให้เด็กแลเห็นธรรมชาติเพื่อให้สามารถปรับตัวได้
          5. ความสมดุล ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีความสมดุลกัน เช่น ปลาอยู่ในน้ำ นกบินได้ เด็กควรมีความเข้าใจถึงธรรมชาติประเภทนี้ เพื่อให้ตนเองเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ สามารถรักษาสมดุลไว้ได้

วิธีการทางวิทยาศาสตร์

เจตคติที่ดีทางวิทยาศาสตร์
          1. มีความอยากรู้อยากเห็น
- มีความพยายามที่จะเสาะแสวงหาความรู้ในสถานการณ์ใหม่ๆ ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยความรู้ที่มีอยู่เดิม
- ตระหนักถึงความสำคัญของการแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม
- ช่างซัก ช่างถาม ช่างอ่าน เพื่อให้ได้คำตอบเป็นความรู้ที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
- ให้ความสนใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญในชีวิตประจำวัน

          2. มีใจกว้าง
- ยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์ และยินดีให้มีการพิสูจน์ตามเหตุผลและข้อเท็จจริง
- เต็มใจที่จะรับรู้ความคิดใหม่ๆ
- เต็มใจที่จะเผยแพร่ความรู้และความคิดเห็นแก่ผู้อื่น
- ตระหนักและยอมรับข้อจำกัดของความรู้ที่ค้นพบในปัจจุบัน

          3. มีความซื่อสัตย์และมีใจเป็นกลาง
- สังเกตและบันทึกผลต่างๆโดยปราศจากความลำเอียงหรืออคติ
- ไม่นำสภาพทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองมาเกี่ยวข้องกับการตีความหมายผลงานต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์
- ไม่ยอมให้ความชอบหรือไม่ชอบส่วนตัวมามีอิทธิพลเหนือการตัดสินใดๆ
- มีความมั่นคง หนักแน่น ต่อผลที่ได้จากการพิสูจน์
- เป็นผู้ซื่อตรง อดทน ยุติธรรม และละเอียดรอบคอบ

          4. มีความเพียรพยายาม
- ทำกิจการงานที่ได้รับมอบหมายอย่างสมบูรณ์
- ไม่ท้อถอย เมื่อการทดลองมีอุปสรรคหรือล้มเหลว
- มีความตั้งใจแน่วแน่ต่อการเสาะแสวงหาความรู้

          5. มีเหตุผล
- เชื่อในความสำคัญของเหตุผล
- ไม่เชื่อโชคลาง คำทำนาย หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่ไม่สามารถอธิบายทางวิทยาศาสตร์ได้
- แสวงหาสาเหตุของเหตุการณ์ต่างๆ และหาความสัมพันธ์ของสาเหตุนั้นกับผลที่เกิดขึ้นได้
- ต้องการที่จะรู้ปรากฏการณ์ต่างๆ นั้นเป็นอย่างไร และทำไมจึงเป็นอย่างนั้น

          6. มีความละเอียดรอบคอบก่อนการตัดสินใจ
- ใช้วิจารณญาณก่อนที่จะตัดสินใจใดๆ
- ไม่ยอมรับสิ่งใดว่าเป็นความจริงทันที ถ้ายังไม่มีการพิสูจน์ที่เชื่อถือได้
- หลีกเลี่ยงการตัดสินใจและการสรุปที่รวดเร็วเกินไป

ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
          1. ช่วยในการดำรงชีวิต (ตอบสนองความต้องการของมนุษย์)
          2. ช่วยในการพัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ
          3. ช่วยสร้างเสริมประสบการณ์

ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
          1. ช่วยให้เราสุขสบาย
          2. ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
          3. ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้เรา

ทักษะที่ใช้ในทางวิทยาศาสตร์ (เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์)
          1. ทักษะการลงความเห็น
          2. ทักษะการสื่อความหมาย
          3. ทักษะการจำแนกประเภท
          4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่กับเวลา

เพิ่มเติม
  **การเล่นคือวิธีการเรียนรู้ของเด็ก**
  **การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ มี2วิธี คือการจัดประสบการณ์ที่เป็นทางการ และผ่านการเล่น**

ทักษะที่ใช้ในการเรียนรู้ (Skill)
          - ทักษะการฟัง
          - ทักษะการสรุปจากข้อมูล
          - ทักษะการใช้เทคโนโลยี

เทคนิคการสอนของอาจารย์ ( Technique teaching)
          - การพูดเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่าย
          - ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการสอน
          - แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักศึกษา
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
          - สามารถอธิบายความหมายของวิทยาศาสตร์ได้ รวมไปถึงเจตคติที่ดีของวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะทำให้เรามีความรู้เพียงพอเพื่อนำไปสอนเด็กได้อย่างมีคุณภาพ
การประเมิน (Assessment)
          - ประเมินตนเอง แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ ตั้งใจฟัง และตั้งใจตอบคำถามที่อาจารย์ถาม
          - ประเมินเพื่อน เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนทุกคน
          - ประเมินอาจารย์ อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีวิธีการสรุปให้นักศึกษาเข้าใจง่าย

คำศัพท์
1. Concept = แนวคิด
2. Adaptation = การปรับตัว
3. Reasonable = มีเหตุผล
4. Discreet = รอบคอบ
5. Attitude = เจตคติ