Record2 16 August 2016 (Make-up class)
เนื้อหาการเรียนการสอน (Knowledge)
การเรียนในวันนี้เริ่มต้นด้วยการเขียน Mind mapping ในหัวข้อ การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยแยกออกเป็น การจัดประสบการณ์,วิทยาศาสตร์,เด็กปฐมวัย จากนั้นก็นำหัวข้อแต่ละหัวข้อมาแลกเปลี่ยนกัน โดยเน้นที่คำว่าวิทยาศาสตร์ โดยความหมายของวิทยาศาสตร์ คือ การศึกษา สืบค้นและค้นหาความจริงของสิ่งต่างๆรอบตัว โดยใช้ทักษะกระบวนการที่ต้องสังเกต ทดลอง ในการหาคำตอบเพื่อแสวงหาความจริงทางวิทยาศาสตร์
แนวคิดพิ้นฐานทางวิทยาศาสตร์
1. การเปลี่ยนแปลง ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ดังนั้น เด็กจึงแลเห็นและเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น เวลา
น้ำหนักของเด็ก และสิ่งอื่นๆที่อยู่รอบตัว
2. ความแตกต่าง ให้เด็กสังเกตสิ่งต่างๆรอบๆตัว
3. การปรับตัว ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึงให้เด็กสังเกตถึงธรรมชาติที่อยู่รอบๆตัว เช่นจิ้งจกจะเปลี่ยนสีที่เกาะตามผนัง
4. การพึ่งพาอาศัยกัน ทุกสิ่งทุกอย่างต้องพึ่งพาอาศัยกัน เช่น คนกับเงิน นกเอี้ยงกับควาย
ครูจึงควรให้เด็กแลเห็นธรรมชาติเพื่อให้สามารถปรับตัวได้
5. ความสมดุล ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีความสมดุลกัน เช่น ปลาอยู่ในน้ำ นกบินได้ เด็กควรมีความเข้าใจถึงธรรมชาติประเภทนี้ เพื่อให้ตนเองเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ สามารถรักษาสมดุลไว้ได้
2. ความแตกต่าง ให้เด็กสังเกตสิ่งต่างๆรอบๆตัว
3. การปรับตัว ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึงให้เด็กสังเกตถึงธรรมชาติที่อยู่รอบๆตัว เช่นจิ้งจกจะเปลี่ยนสีที่เกาะตามผนัง
4. การพึ่งพาอาศัยกัน ทุกสิ่งทุกอย่างต้องพึ่งพาอาศัยกัน เช่น คนกับเงิน นกเอี้ยงกับควาย
ครูจึงควรให้เด็กแลเห็นธรรมชาติเพื่อให้สามารถปรับตัวได้
5. ความสมดุล ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีความสมดุลกัน เช่น ปลาอยู่ในน้ำ นกบินได้ เด็กควรมีความเข้าใจถึงธรรมชาติประเภทนี้ เพื่อให้ตนเองเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ สามารถรักษาสมดุลไว้ได้
วิธีการทางวิทยาศาสตร์
เจตคติที่ดีทางวิทยาศาสตร์
1. มีความอยากรู้อยากเห็น
- มีความพยายามที่จะเสาะแสวงหาความรู้ในสถานการณ์ใหม่ๆ ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยความรู้ที่มีอยู่เดิม
- ตระหนักถึงความสำคัญของการแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม
- ช่างซัก ช่างถาม ช่างอ่าน เพื่อให้ได้คำตอบเป็นความรู้ที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
- ให้ความสนใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญในชีวิตประจำวัน
- มีความพยายามที่จะเสาะแสวงหาความรู้ในสถานการณ์ใหม่ๆ ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยความรู้ที่มีอยู่เดิม
- ตระหนักถึงความสำคัญของการแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม
- ช่างซัก ช่างถาม ช่างอ่าน เพื่อให้ได้คำตอบเป็นความรู้ที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
- ให้ความสนใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญในชีวิตประจำวัน
2. มีใจกว้าง
- ยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์ และยินดีให้มีการพิสูจน์ตามเหตุผลและข้อเท็จจริง
- เต็มใจที่จะรับรู้ความคิดใหม่ๆ
- เต็มใจที่จะเผยแพร่ความรู้และความคิดเห็นแก่ผู้อื่น
- ตระหนักและยอมรับข้อจำกัดของความรู้ที่ค้นพบในปัจจุบัน
- ยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์ และยินดีให้มีการพิสูจน์ตามเหตุผลและข้อเท็จจริง
- เต็มใจที่จะรับรู้ความคิดใหม่ๆ
- เต็มใจที่จะเผยแพร่ความรู้และความคิดเห็นแก่ผู้อื่น
- ตระหนักและยอมรับข้อจำกัดของความรู้ที่ค้นพบในปัจจุบัน
3. มีความซื่อสัตย์และมีใจเป็นกลาง
- สังเกตและบันทึกผลต่างๆโดยปราศจากความลำเอียงหรืออคติ
- ไม่นำสภาพทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองมาเกี่ยวข้องกับการตีความหมายผลงานต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์
- ไม่ยอมให้ความชอบหรือไม่ชอบส่วนตัวมามีอิทธิพลเหนือการตัดสินใดๆ
- มีความมั่นคง หนักแน่น ต่อผลที่ได้จากการพิสูจน์
- เป็นผู้ซื่อตรง อดทน ยุติธรรม และละเอียดรอบคอบ
- สังเกตและบันทึกผลต่างๆโดยปราศจากความลำเอียงหรืออคติ
- ไม่นำสภาพทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองมาเกี่ยวข้องกับการตีความหมายผลงานต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์
- ไม่ยอมให้ความชอบหรือไม่ชอบส่วนตัวมามีอิทธิพลเหนือการตัดสินใดๆ
- มีความมั่นคง หนักแน่น ต่อผลที่ได้จากการพิสูจน์
- เป็นผู้ซื่อตรง อดทน ยุติธรรม และละเอียดรอบคอบ
4. มีความเพียรพยายาม
- ทำกิจการงานที่ได้รับมอบหมายอย่างสมบูรณ์
- ไม่ท้อถอย เมื่อการทดลองมีอุปสรรคหรือล้มเหลว
- มีความตั้งใจแน่วแน่ต่อการเสาะแสวงหาความรู้
- ทำกิจการงานที่ได้รับมอบหมายอย่างสมบูรณ์
- ไม่ท้อถอย เมื่อการทดลองมีอุปสรรคหรือล้มเหลว
- มีความตั้งใจแน่วแน่ต่อการเสาะแสวงหาความรู้
5. มีเหตุผล
- เชื่อในความสำคัญของเหตุผล
- ไม่เชื่อโชคลาง คำทำนาย หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่ไม่สามารถอธิบายทางวิทยาศาสตร์ได้
- แสวงหาสาเหตุของเหตุการณ์ต่างๆ และหาความสัมพันธ์ของสาเหตุนั้นกับผลที่เกิดขึ้นได้
- ต้องการที่จะรู้ปรากฏการณ์ต่างๆ นั้นเป็นอย่างไร และทำไมจึงเป็นอย่างนั้น
- เชื่อในความสำคัญของเหตุผล
- ไม่เชื่อโชคลาง คำทำนาย หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่ไม่สามารถอธิบายทางวิทยาศาสตร์ได้
- แสวงหาสาเหตุของเหตุการณ์ต่างๆ และหาความสัมพันธ์ของสาเหตุนั้นกับผลที่เกิดขึ้นได้
- ต้องการที่จะรู้ปรากฏการณ์ต่างๆ นั้นเป็นอย่างไร และทำไมจึงเป็นอย่างนั้น
6. มีความละเอียดรอบคอบก่อนการตัดสินใจ
- ใช้วิจารณญาณก่อนที่จะตัดสินใจใดๆ
- ไม่ยอมรับสิ่งใดว่าเป็นความจริงทันที ถ้ายังไม่มีการพิสูจน์ที่เชื่อถือได้
- หลีกเลี่ยงการตัดสินใจและการสรุปที่รวดเร็วเกินไป
- ใช้วิจารณญาณก่อนที่จะตัดสินใจใดๆ
- ไม่ยอมรับสิ่งใดว่าเป็นความจริงทันที ถ้ายังไม่มีการพิสูจน์ที่เชื่อถือได้
- หลีกเลี่ยงการตัดสินใจและการสรุปที่รวดเร็วเกินไป
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
1. ช่วยในการดำรงชีวิต (ตอบสนองความต้องการของมนุษย์)
2. ช่วยในการพัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ
ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
1. ช่วยให้เราสุขสบาย
2. ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
3. ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้เรา
ทักษะที่ใช้ในทางวิทยาศาสตร์ (เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์)
1. ทักษะการลงความเห็น
2. ทักษะการสื่อความหมาย
3. ทักษะการจำแนกประเภท
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่กับเวลา
เพิ่มเติม
**การเล่นคือวิธีการเรียนรู้ของเด็ก**
**การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ มี2วิธี คือการจัดประสบการณ์ที่เป็นทางการ และผ่านการเล่น**
ทักษะที่ใช้ในการเรียนรู้ (Skill)
- ทักษะการฟัง
- ทักษะการสรุปจากข้อมูล
- ทักษะการใช้เทคโนโลยี
เทคนิคการสอนของอาจารย์ ( Technique teaching)
- การพูดเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่าย
- ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการสอน
- แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักศึกษา
- ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการสอน
- แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักศึกษา
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
- สามารถอธิบายความหมายของวิทยาศาสตร์ได้ รวมไปถึงเจตคติที่ดีของวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะทำให้เรามีความรู้เพียงพอเพื่อนำไปสอนเด็กได้อย่างมีคุณภาพ
การประเมิน (Assessment)
- ประเมินตนเอง แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ ตั้งใจฟัง และตั้งใจตอบคำถามที่อาจารย์ถาม
- ประเมินเพื่อน เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนทุกคน
- ประเมินอาจารย์ อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีวิธีการสรุปให้นักศึกษาเข้าใจง่าย
1. Concept = แนวคิด
2. Adaptation = การปรับตัว
3. Reasonable = มีเหตุผล
4. Discreet = รอบคอบ
5. Attitude = เจตคติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น