Welcome to blogger of Warunya.

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การศึกษานอกห้องเรียน
(มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2559)

โดยงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 - 28 สิงหาคม 2559 เปิดให้ชมงานในเวลา 09.00 - 19.00 น. โดยนิทรรศการประกอบด้วย
           
          1. พระอัจฉริยภาพ “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
           2. นิทรรศการกลาง
นำเสนอประเด็นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่กำลังอยู่ในความสนใจของประชาชน หรือมีความสำคัญ มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่และการพัฒนาประเทศในอนาคต ซึ่งควรสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนและเยาวชน โดยในปี 2559 มีนิทรรศการพิเศษ อาทิ
                    - นิทรรศการนวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
                    - นิทรรศการยานยนต์แห่งอนาคตและการขนส่ง
                    - นิทรรศการการแพทย์ในยุคดิจิทัล
                    - นิทรรศการอนาคตเทคโนโลยีชีวภาพโลก (World Biotech Tour)
                    - นิทรรศการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับความหลากหลายทางชีวภาพ
                    - นิทรรศการมหัศจรรย์แห่งวิทยาศาสตร์ เรื่องของ “ไข่”
                    - นิทรรศการในปีสากลของ UNESCO ถั่วพัลส์ ความหวังของประชากรโลก
           3. กิจกรรมวิทยาศาสตร์ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในแนวทางสะเต็มศึกษา
                    - กิจกรรมพื้นที่นักนวัตกรรม จากความคิดสร้างสรรค์ สู่ผลงานสิ่งประดิษฐ์ 
                    - กิจกรรมห้องทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับครอบครัวและเยาวชน
                    - กิจกรรมลานประกวดแข่งขัน เครื่องบินกระดาษพับ
                    - กิจกรรมลานปลูกฝังปัญญาเยาว์ สำหรับพัฒนาทักษะกระบวนการคิดของเด็กก่อนวัยเรียนในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย
                    - ห้องฉายภาพยนตร์วิทยาศาสตร์
                    - การแสดงทางวิทยาศาสตร์
                    - การประกวดแข่งขันตอบปัญหา มอบรางวัล
           4. นิทรรศการศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย
                    - แสดงผลงานความก้าวหน้าด้านการวิจัย การประดิษฐ์คิดค้น นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในกิจการด้านต่าง ๆ ของประเทศ จัดแสดงโดยหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ในประเทศไทย จากสถาบันวิจัย สมาคม สถาบันการศึกษา และกระทรวง ทบวง กรม
                    - ผลงานวิจัยของหน่วยงานวิจัยของกระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ กระทรวงกลาโหม ฯลฯ
                    - โครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน โดยคลินิกเทคโนโลยีของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และมหาวิทยาลัยเครือข่าย
                    - ผลงานชนะเลิศเครื่องจักร เครื่องยนต์ และนวัตกรรมจากการประกวดเทคโนโลยีของไทย
                    - ผลงานดีเด่นด้านวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน นักศึกษา นักวิจัย
                    - การเชิดชูเกียรติผู้บำเพ็ญประโยชน์ในสาขาวิทยาศาสตร์ ผู้ได้รับรางวัลพระราชทานประจำปี รวมทั้งผู้เป็นบุคคลตัวอย่างด้านวิทยาศาสตร์ เช่น นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น เป็นต้น
           5. การประชุม สัมมนา และการถ่ายทอดเทคโนโลยี
ประกอบด้วยการประชุมระดับชาติและระดับนานาชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์และนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ ของประเทศและภูมิภาค อาทิ
                    - การประชุมด้านนโยบายวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคอาเซียน ASEAN STI Forum
                    - การประชุมความร่วมมือเพื่อพัฒนาเยาวชนด้านวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคอาเชียน ASEAN +3 for Gifted in Science
                    - การบรรยายเกี่ยวกับพระอัจฉริยะภาพทางวิทยาศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
                    - การจัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อการประกอบอาชีพสำหรับชุมชน
**ขอขอบคุณข้อมูลจากองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ**


ส่วนที่ดิฉันชอบและสะดุดตาที่สุดคือ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ซึ่งเป็นโซนกิจกรรมสำหรับสำหรับเด็กปฐมวัยโดยเฉพาะซึ่งภายในลานจะประกอบได้ด้วยกิจกรรมต่างๆมากมายเช่น

          กิจกรรมบล็อคของเด็กเล็ก เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กๆ ได้ต่อตัวต่อใส่บล็อคที่มีให้ให้ถูกต้องซึ่งกิจกรรมนี้เด็กๆ จะได้เรียนรู้เรื่องของผิวสัมผัสความเรียบ หยาบ แข็ง และการเรียนรู้เรื่องรูปร่าง รูปทรง เรื่องของความสัมพันธ์ที่จะสามารถใส่ตัวต่อลงในบล็อคได้ 

           กิจกรรมตัวต่อสีฟ้ามหรรษจรรย์ เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กๆ ได้ศึกษาเรื่องของความสัมพันธ์ของตัวต่อว่าสามารถต่อเข้ากันได้หรือไม่ ซึ่งต่อตัวก็จะมีหลายรูปแบบหลายรูปทรง จะทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ในเรื่องของขนาด รูปร่าง รูปทรงต่างๆ

           กิจกรรมไขรหัสจากภาพ กิจกรรมนี้จะทำให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องของสัญลักษณ์ต่างๆในชีวิตประจำวัน โดยเรียนรู้ผ่านการระบายสีให้เกิดเป็นรูปร่าง ยังช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอีกด้วย

ส่วนต่อมาที่น่าจะสนใจคือ ลานกิจกรรมเรื่องไข่มหรรษจรรย์ โดยจะเป็นเรื่องราวของไข่ของสิ่งมีชีวิตต่างๆบนโลก เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีอีกแห่งหนึ่ง ในโซนนี้จะประกอบด้วย
ZONE 1: ไข่...จุดกำเนิดชีวิต จุดกำเนิดเราจะเป็นเรื่องราวของไข่ต่างๆ เป็นจุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิตต่างๆ
ZONE 2: มหัศจรรย์แห่งไข่ เป็นเรื่องราวของไข่รูปทรง ขนาด และสีสันต่างๆ แตกต่างกันออกไปได้ให้ผู้ชมให้เข้ามาศึกษา ไข่บางชนิดก็ยังไม่เคยเห็นเลย
ZONE 3: ไข่ไขไอเดีย เป็นการสร้างผลงานสถาปัตถ์ขึ้นมาจากรูปทรงไข่
ZONE 4: สาระไข่น่ารู้ เป็นการชี้ให้เห็นคุณค่าของไข่ที่มีประโยชน์มากมาย
ZONE 5: สนุกวิทย์ สนุก kid – “ไข่หรรษา” เป็นกิจกรรมที่มีความรู้คู่กับความสนุกที่จะให้เด็กๆได้ลงมือทำงานฝีมือ เช่น กิจกรรมไข่ทำมือลายพลาง เป็นต้น

ภาพกิจกรรมภายในงาน












 






  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น